วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

นวัตกรรมการศึกษา

หัวข้อวิทยานิพนธ์:การศึกษาระดับและปัจจัยในการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร
โดย:จงรักษ์ แจ้งยุบล
สาขาวิชา: ครุศาสตร์ การสอนสังคมศึกษา

บทคัดย่อ:การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยในการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา กรุงเทพมหานคร 3) เปรียบเทียบการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา กรุงเทพมหานคร ที่มีภูมิหลังต่างกันในด้านประสบการณ์การสอนวุฒิทางการศึกษา ระดับชั้นที่สอน และประสบการณ์การอบรม กลุ่มตัวอย่างคือ ครูที่สอนวิชาสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 342 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.นวัตกรรมการเรียนการสอนที่ครูสังคมศึกษากำลังพิจารณาความเหมาะสมในการนำนวัตกรรมไปใช้ คือ การสอนโดยใช้แผนผังความคิด การสอนแบบร่วมมือ การสอนแบบบูรณาการการสอนแบบโครงงาน การสอนเพื่อพัฒนาการคิดโดยใช้เทคนิคหมวกคิด 6 ใบ สัญญาการเรียนรูปแบบการเรียนแบบ PSI การสอนโดยใช้ Storyline Method และการจัดการเรียนรู้โดยวัฏจักรการเรียน 4 MAT ส่วนนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ครูสังคมศึกษามีความสนใจ คือ การสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ ไวด์ เว็บ และการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2.การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยในการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษาแบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 2.1 ปัจจัยด้านคุณสมบัติของนวัตกรรม พบว่าปัจจัยที่ทำให้ครูสังคมศึกษายอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด คือการเห็นผลสำเร็จของนวัตกรรมได้ชัดเจน, เป็นนวัตกรรมที่ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก และเป็นนวัตกรรมที่ใช้ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน 2.2 ปัจจัยด้านสภาพสังคมในโรงเรียน พบว่าปัจจัยที่ทำให้ครูสังคมศึกษายอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด คือ มีการฝึกอบรม, มีบรรยากาศเอื้อต่อการใช้นวัตกรรมและฝ่ายบริหารให้การสนับสนุนการใช้นวัตกรรม 2.3 ปัจจัยด้านแหล่งสนับสนุนจากภายนอกโรงเรียน พบว่าปัจจัยที่ทำให้ครูสังคมศึกษายอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด คือ อบรม สัมมนา 3.การเปรียบเทียบการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษาที่มีภูมิหลังต่างกัน พบว่าครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การสอน วุฒิการศึกษา และระดับชั้นที่สอนต่างกัน มีการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนไม่แตกต่างกัน ยกเว้นครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การอบรมต่างกัน มีการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

เอกสารอ้างอิง

จงรักษ์ แจ้งยุบล.( 2545).การศึกษาระดับและปัจจัยในการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร.กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



ประโยชน์ที่ได้รับ
1. รู้วิธีการอ้างอิงเอกสารที่คัดลอกมา
2. ค้นคว้าข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้
3.ได้แนวคิดในการเลือกทำงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น